หล่อแป้ง ( FILLER CASTING )

หล่อแป้ง ( FILLER CASTING ) โดย MK เรซิ่น

วัสดุและอุปกรณ์

1. เรซิ่นหล่อ PC600/MK456   2. ม่วง (COBALT 10%)    3. ตัวเร่งฯ (BUTANOX M-60)    4. แม่แบบยางซิลิโคน    5. แป้งแคลเซี่ยม (แป้งชนิดต่าง ๆ)     6. สไตรีน โมโนเมอร์   7. แก้วพลาสติก    8. ไม้กวน (ตะเกียบ/ไม้ไอติม)    9. อาซีโทน    10. กระดาษทราย    11. ตะไบ    12. สเปรย์เคลือบเงา (สำหรับงานที่ต้องการเคลือบเงาขั้นตอนสุดท้าย)    13. สีสำหรับงานเพนท์(ชนิดต่างๆตามที่ต้องการ)     14. ตาชั่งขนาดเล็ก    15. หลอดหยดขนา 3 ml./5 ml.

 

ขั้นตอนการหล่อแป้ง

1. ทำความสะอาดแม่แบบยางซิลิโคนให้สะอาดพร้อมใช้งาน

2. ผสมเรซิ่น PC600/MK456 กับ ม่วง (COBALT 10%) ในอัตราส่วน เรซิ่น 100 ส่วน + ม่วง 0.1% ผสมให้เข้ากัน (ม่วงสามารถใช้ได้สูงสุดที่ 0.2% ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของงาน)

3. ผสมแป้งแคลเซี่ยม (หรือแป้งชนิดต่าง ๆ) อัตราผสมของแป้งต่อเรซิ่นที่ 50-200% เลือกปริมาณแป้งให้เหมาะสมกับงาน เพราะปริมาณแป้งที่มากขึ้นนั้น จะทำให้เรซิ่นมีความหนืดขึ้น (สามารถผสมสไตรีนโมโนเมอร์เพื่อทำให้เหลวขึ้นได้)

4. ผสมสไตรีนโมโนเมอร์ ในอัตราผสมที่ 5-10%  ผสมให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ให้ฟองอากาศแตกตัวประมาณ 20-30 นาที

5. ผสมตัวเร่งปฏิกิริยาBUTANOX M-60 ในอตราส่วน 1% ผสมให้เข้ากัน (ตัวเร่งฯสามารถใช้ได้สูงสุดที่ 2% ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของงาน เป็นไปได้ควรใช้ที่ 1% หรือมากกว่าเล็กน้อยจะดีที่สุด)

6. เทเรซิ่นลงในแม่แบบยางซิลิโคน ปริมาณ 1ใน3ส่วนของเรซิ่น แล้วใช้พู่กันหรือไม้หัวมน หรือนิ้วมือที่สวมถุงมือยาง เกลี่ยให้เรซิ่นเข้าซอกและมุมต่าง ๆ แล้วจึงเทส่วนที่เหลือลงในแม่แบบจนเต็มแม่แบบ ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 15-25 นาที เรซิ่นที่ผสมจะเป็นวุ้น (ซึ่งเรียกว่าเจลไทม์) 

7. รอให้แห้งสนิทพร้อมแกะออกจากแม่แบบ 1-3 ชม. แล้วจึงแกะชิ้นงานออกจากแม่แบบยางซิลิโคน ( สำหรับงานมาตรฐานจะใช้เวลา 24 ชม.จึงแกะชิ้นงานออกจากแม่แบบ แต่สำหรับงานอุตสาหกรรมจะใช้เวลาน้อยกว่าที่ 1-3 ชม. เพื่อให้ได้ปริมาณงานที่เหมาะสมและสร้างผลกำไรได้ดี )

8. นำชิ้นงานล้างทำความสะอาดผิวเพื่อล้างคราบสกปรก คราบมัน และคราบเหนียวเหนอะออกจากผิวงาน ด้วยอาซีโทนหรือทินเนอร์ การล้างทำความสะอาดผิวชิ้นงานนั้น นอกจากจะทำความสะอาดผิวงานแล้วยังช่วยให้ขั้นตอนในการขัดแต่งผิวทำงานได้ดีและสะดวกมากขึ้น

9. นำชิ้นงานมาขัดแต่งผิวงานและรูปทรงของงานด้วยเครื่องมือขัดแต่ง เช่น ตะไบ กระดาษทราย ในขั้นตอนการขัดกระดาษทรายนั้นจะขัดไล่เบอร์กระดาษทรายจากหยาบไปจนถึงเบอร์ละเอียดมาก ๆ เช่น เริ่มจากกระดาษทราย #320 ต่อด้วย #400 ต่อด้วย #600 ต่อด้วย #800 และ #1000 เป็นต้น (เราสามารถลดเบอร์การะดาษทรายหรือเพิ่มเบอร์กระดาษทรายได้ตามความเหมาะสมของงานแต่ละชิ้นได้) และการขัดกระดาษทรายจะเลือกเป็นแบบขัดแห้งหรือขัดน้ำก็ได้ หากเลือกขัดกระดาษทรายแบบแห้งหลังขัดเสร็จแล้วให้ล้างทำความสะอาดผิวให้สะอาดด้วยอาซีโทนหรือน้ำเปล่า หลังจากนั้นนำชิ้นงานไปตากให้แห้งสนิท เพื่อรอขั้นตอนการทำสีสัน ในกระบวนการต่าง ๆ

10. การสร้างสีสันให้ชิ้นงาน สามาถทำได้หลากหลายวิธี ตามรูปแบบของงานที่ต้องการหรืองานที่ได้ออกแบบไว้แล้วเช่น

  10.1 เพนท์ด้วยสีชนิดต่าง ๆ ซึ่งสมารถใช้สีได้หลายประเภท เช่นสีน้ำมัน หรือสีอคลีลิคเป็นต้น (ขึ้นอยู่กับลักษณะการเกาะติดผิว และความสวยงาม)

  10.2 การพ่นเคลือบ ส่วนใหญ่มักเป็นงานสีพื้นสีเดียว หรือสองสี มีสีให้เลือกใช้หลายแบบเช่นกัน

  10.3 การชุบเคลือบผิว เช่น การชุบเคลือบผวสีด้วยระบบสุญญากาศ หรือ ระบบไฟฟ้า หรือการชุบเคลือบผิวระบบฟิล์มน้ำ เป็นต้น

 

เราจะได้ชิ้นงานเรซิ่นรูปแบบต่าง ๆ ที่พร้อมจะเป็นของตกแต่ง ของขวัญ และผลิตภัณฑ์พร้อมขายสำหรับงานธุรกิจได้

กรุณากรอกข้อความ...

Visitors: 169,529